ประมวลรหัสเรียกขาน
ใช้ในข่ายตำรวจ และหน่วยงานราชการส่วนใหญ่ (โค้ค ว.)
ใช้ในข่ายวิทยุสมัครเล่น ทั่วโลก (รวมในประเทศไทยด้วย) โค้ด Q

การติดต่อทางวิทยุสื่อสาร ที่ต้องใช้ประมวลรหัส หรือโค้ดย่อ ก็เพื่อจะเป็นการย่อข้อความ ให้สั้นกระทัดรัด และสื่อความหมาย ให้เหมือนกัน และบางครั้งการติดต่อไกลๆ สัญญาณอาจขาดๆ หายๆ บ้าง การพูดยาว บางข้อความอาจตกหล่น สูญหายได้ ดังนั้นจึงมี การกำหนดโค้ดย่อขึ้น เพื่อแทนข้อความยาวๆ แต่สื่อความหมายและเข้าใจที่ตรงกัน ตามมาตราฐานที่ตั้งไว้

โค้ด ว.
ว.00 คอยก่อน / ให้คอยอยู่..........
ว.0 ขอทราบคำสั่ง....../ คำสั่ง.....
ว.1 อยู่ที่ไหน / อยู่ที่.........
ว.2 ได้ยินหรือไม่ ตอบด้วย / ได้ยินแล้ว
ว.3 ทวนข้อความซ้ำอีกครั้ง
ว.4 ปฏิบัติหน้าที่ / ออกตรวจ
ว.5 ราชการลับ / ความลับ
ว.6 ขอติดต่อ /โต้ตอบโดยตรงกับ... / พูดคุย
ว.7 ขอความช่วยเหลือ
ว.8 ข่าวสาร / ข้อความ
ว.9 มีเหตุฉุกเฉิน
ว.10 อยู่ประจำที่ ติดต่อทาง ว.ได้
ว.11 หยุดพักติดต่อทาง ว.ได้
ว.12 หยุดพักติดต่อ ติดต่อทาง ว.ไม่ได้
ว.13 ติดต่อทางโทรศัพท์ / โทรศัพท์
ว.14 เลิกงาน / ปิดเครื่องวิทยุ
ว.15 พบ / ให้ไปพบ
ว.16 - 5 เสียงชัดเจนดีมาก
ว.16 - 4 เสียงชัดเจนดี
ว.16 - 3 เสียงชัดเจนพอใช้
ว.16 - 2 เสียงไม่ค่อยชัดเจน
ว.16 - 1 จับใจความไม่ได้
ว.17 มีอันตรายห้ามผ่าน
ว.18 นำรถออกทดลอง / รถเสีย
ว.19 สถานีถูกยึด / ถูกโจมตี
ว.20 ตรวจค้น / จับกุม
ว.21 ออกจาก...........
ว.22 ถึง.............. (ระบุสถานีที่)
ว.23 ผ่าน..................
ว.24 เวลา / ขอทราบเวลา
ว.25 ไป................. (ระบุสถานที่)
ว.26 ให้ติดต่อทางวิทยุน้อยที่สุด
ว.27 ติดต่อทางโทรพิมพ์
ว.28 ประชุม
ว.29 ข้อราชการ / ธุระ
ว.30 ขอทราบจำนวน / จำนวน
ว.31 เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่อง 1 (.........)
ว.32 เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่อง 2 (.........)
ว.33 เปลี่ยนไปใช้ความถี่ข่อง 3 (........)
ว.34 เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่อง 4 (........)
ว.35 เตรียมพร้อม ออกปฏิบัติการ
ว.36 เตรียมพร้อม เต็มอัตรา
ว.37 เตรียมพร้อมครึ่งอัตรา
ว.38 เตรียมพร้อม 1/ 3 อัตรา
ว.39 สภาพการจราจรคับคั่ง
ว.40 อุบัติเหตุ (รถชน)
ว.41 สัญญาณไฟจราจร ชำรุด
ว.42 ขบวนมีพาหนะนำขบวน
ว.43 จุดตรวจยานพาหนะ
ว.44 ติดต่อทางโทรสาร ( FAX )
ว.51 รับประทานอาหาร
ว.60 ญาติ เพื่อน พี่น้อง คนใกล้ชิด
ว.61 ขอบคุณ
ว.62 สิ่งของ
ว.63 บ้าน
ว.64 ธุระส่วนตัว
01 ที่ทำงาน
02 ที่พัก

เกือบทุกหน่วยงานราชการ และองค์กรการกุศล เช่นมูลนิธิ กู้ภัย เอกชน จะใช้ประมวลรหัส ว. นี้เป็นหลัก ซึ่งอาจจะเพี้ยนไปบ้างแล้วแต่ในแต่ละท้องที่ เช่น ตั้งแต่ ว.60 ขึ้นไป บางแห่งก็ มีคำว่า ว.นำหน้า บางแห่งก็ไม่มี เป็นต้น บางแห่งก็อาจแต่ง เติม หรือ ตั้งเพิ่งขึ้น อีก แต่ทั้งนี้ทั้งก็ไม่แตกต่างกันมากนัก

ประมวลรหัส Q สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น
รหัส Q หรือ Q Code นั้นมีมาก เกือบ 100 Code แต่ ส่วนมากจะใช้ ในการติดต่อสื่อสาร แบบ รับ-ส่ง มอร์ส มากกว่า สำหรับในประเทศไทยยังไม่แพร่หลาย แต่ทีใช้อยู่ในปัจจุบัน จะใช้เพียงไม่มากนัก เนื่องจากเป็นการใช้ติดต่อแบบ โฟน (Phon) ซึ่งเป็นการพูดต้องโต้ตอบกันโดยตรง (คล้ายวิทยุสื่อสารราชการ)
QRA สถานี ชื่อ.......
QRD มาจากไหน / จะไปไหน
QRL มีธุระ
QRM การรบกวน โดยมนุษย์
QRN การรบกวน โดยธรรมชาติ
QRO เพิ่มกำลังส่ง
QRP ลดกำลังส่ง
QRT ปิดสถานี
QRU หมดข้อความ
QRV พร้อมจะออกอากาศ
QRX พักการออกอากาศชั่วคราว
QRZ ใครเรียกข้าพเจ้า
QSO การพูดคุยทางวิทยุ
QSL ยืนยัน ถูกต้อง
QSM ทวนข้อความ
QSP ถ่ายทอดข้อความ
QSY ปรับความถี่ไปที่.....
QTH ตำแหน่งที่ส่งออกอากาศ
QTR เทียบเวลา
QRK ระดับความชัดเจนของเสียง
QRK-5 ชัดเจนดีมาก
QRK-4 ชัดเจนดี
QRK-3 ชัดเจนพอใช้
QRK-2 ไม่ค่อยชัดเจน
QRK-2 จับใจความไม่ได้เลย


คำย่อในกิจการวิทยุสมัครเล่น
CQ เรียกสถานีใดก็ได้ ตอบที
OM เพื่อน ( Old Man)
YL ผู้หญิง ( Young Lady)
XYL ภรรยา
HARMONIC แสลงว่า ลูก
HAM แสลงว่านักวิทยุสมัครเล่น
LAND LINE โทรศัพท์
MAY DAY ขอความช่วยเหลือมีเหตุฉุกเฉิน
STAND BY รอฟัง พร้อมรับการติดต่อ
BREAK ขอขัดจังหวะการสนทนา
CONTACT ขอติดต่อกับ......
CLEAR ยกเลิกการติดต่อ
NEGATIVE ปฏิเสธ / ไม่ใช่
ROGER รับทราบข้อความ
EYEBALL การพบปะ เจอะเจอ
DX การติดต่อวิทยุทางไกล
73 ด้วยความปราถนาดี เมื่อเลิกการติดต่อ
88 ความหมายเดียวกันกับ 73 แต่ส่วนมากจะ
ใช้สำหรับเพศตรงข้าม

HOME